VIDEO
9/03/2555
เป็นบทสัมภาษณ์
ที่ผมอยากให้คนเป็นครูได้อ่าน และได้ชมคลิปนี้
เพราะคุณคือต้นทางของการปฏิรูปการศึกษา
ผมมีโอกาสได้เข้าไปสัมภาษณ์อาจารย์กวดวิชาชื่อดัง
เป็นที่รู้จักกันทั้งประเทศ อย่างอาจารย์ปิง ดาวองก์ ผมตั้งประเด็นไว้ว่า “กวดวิชา กับปัญหาการศึกษาไทย ” คำตอบว่าการกวดวิชาเป็นปัญหาของการศึกษาไทยหรือไม่
แล้วปัญหาการศึกษาไทยคืออะไร แล้วจะแก้อย่างไร แก้ที่ใคร อยู่ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้
ที่ผมและทางงานเข้าไปสัมภาษณ์อาจารย์ปิง ถึงบ้านกันเลยทีเดียวครับ
Nation
U Channel ถาม
อาจารย์ปิง
ดาวองก์ ตอบ
ถาม
–
จุดเริ่มของการกวดวิชาในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ
ตอบ
–
ถ้ากวดวิชาหมายถึงการสอนพิเศษนะค่ะ มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้วค่ะ
ก็ที่พระองค์ท่านจ้างแหม่มแอนนาเข้าไปสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง
และต่อมาได้พระอาจารย์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
บางอาจเข้าใจผิดว่าเพิ่งมามีในปัจจุบัน แต่ความจริงมีมานานแล้วค่ะ
ถาม
–
ในปัจจุบันเขามีการออกข้อสอบ Gat Pat เพื่อลดความต้องการในการกวดวิชาลง
อาจารย์คิดว่าอย่างไรครับ
ตอบ
–
ในความคิดครูคิดว่า ถ้าจะไม่ให้เด็กกวดวิชา 1.
ก็อยากออกข้อสอบให้มันเกินความรู้เด็กสิ อย่างข้อสอบ Gat กับ
Pat เนี่ยเป็นมันข้อสอบความถนัดทางวิชาชีพ
นั่นหมายความว่ามันอาจไม่มีสอนในโรงเรียนก็ได้
ทำไมไม่เอาวิชาที่เรียนในโรงเรียนไปสอบล่ะ 2. คือการออกข้อสอบยาก
มันทำให้เด็กรู้สึกว่าต้องรู้อะไรเยอะนะ
ทำไม่ไม่ออกข้อสอบให้มันง่ายแต่แข่งกันด้วยเวลา สมมติว่าออกข้อสอบยากๆมา 50 ข้อ
ก็ออกข้อสอบซัก 1000 ข้อแต่ง่ายหมดเลย คือพอมันง่ายหมดเนี่ย มันจะวัดเด็กด้วยว่าเด็กคนไหนหัวไว
ถาม
–
นั่นหมายความว่า นี่เป็นความผิดพลาดในการข้อสอบของทางผู้ใหญ่
ทางกระทรวงใช่ไหมครับ
ตอบ
–
อย่าไปคิดแบบนั้น ความเป็นจริงในปัจจุบันถ้าครูมีลูก
ครูก็จะให้ลูกกวดวิชา ไม่ใช่เหตุผลเรื่องการสอบนะ
เด็กวัยรุ่นสมัยนี้ถ้าอยู่ในบ้านก็เล่นแต่เกม คุยโทรศัพท์
ถาม
–
“สมัยนี่เนี่ยการแข่งขันมันสูง ถ้าไม่กวดวิชา
แล้วจะเอาอะไรไปแข่งขันกับเขา ” การศึกษา กับการแข่งขัน
อาจารย์คิดเห็นอย่างไรครับ
ตอบ
–
พวกอาจารย์ที่ซีเรียส ก็มักจะคิดอย่างนี้ แต่ครูไม่เป็นน่ะ
ครูรู้สึกว่าครูมีความสุขกับการสอน ครูไม่คิดว่าโรงเรียนกวดวิชา
คือโรงเรียนกวดวิชา แต่ครูคิดว่ามันคือที่ที่ครูได้สอนนักเรียนที่ครูรัก
มันคนละมุมกัน “ครูคิดว่าพวกนี้ตอนเด็ก ๆ
ไม่รู้ไปเจออะไรกันมา แต่ในชีวิตครู ครูเจอแต่สิ่งที่ดีดีไงคะ นักเรียนก็ดี
อะไรก็ดี ครูก็ไม่เคยคิดแบบนั้นเลยค่ะ ฉะนั้นครูอยากบอกผู้สื่อข่าว
ซึ่งผู้สื่อข่าวบางคนก็ไปเจอแต่อาจารย์แบบนี้ เจออาจารย์ที่เขาอารมณ์ดีบ้างสิ
ถาม
–
ดูเหมือนว่าการกวดวิชาในต่างประเทศ จะมีน้อยนะครับ
จากข้อมูลที่รับรู้มา
ตอบ
–
ไม่จริงค่ะ ญี่ปุ่นอันดับหนึ่ง
ก่อนที่เราจะไปเข้ายูโตเกียวเราต้องสอบเข้า ฉะนั้นต้องมีการกวดวิชา
เกาหลีหนักกว่าเราอีก และนักเรียนที่ไปเรียนต่ออเมริกา เขาก็กวดทั้งนั้น
ถาม
–
นั่นหมายความว่า
ประเทศไทยก็ไม่ได้มีการกวดวิชาที่แพ้ไปกว่าต่างประเทศ
ตอบ
–
แต่ที่ต่างประเทศเขาไม่ได้มีสถาบันการกวดวิชาที่มันอะไรอย่างนี้
ครูคิดว่าถ้าเอาเม็ดเงินด้านธุรกิจการกวดวิชามาเทียบกัน มันก็อาจจะพอกันนะ
เธอลองคิดดูถ้าเธอเป็นพ่อแม่เด็ก เธอก็อยากจะเสริมความรู้ให้ลูกอยู่แล้วน่ะ
เป็นเรื่องปกติ ครูคิดว่ามีกันอยู่ทุกประเทศ แต่ของประเทศเรา
บางคนอาจต่อต้านการกวดวิชาหรือเปล่าเพราะ ไม่มีโอกาส
ถาม
–
ด้านความเท่าเทียมกันในสังคม ครูคิดว่าอย่างไรครับ
ตอบ
–
อย่างครูเวลากระทรวงศึกษาเชิญไป ก็ไปสอน
และเวลาเราสอนเราก็ไม่ได้กั๊กวิชา ก็สอนให้เต็มที่ ครูสอนเพราะครูมีความสุข
และครูก็เชื่อว่าเด็กที่ครูสอน ก็มีความสุข
ครูก็เลยมองคนละแบบกับผู้ใหญ่ที่เจอแต่สิ่งร้ายๆ มาตลอดชีวิต
ถาม
–
เด็กไทยเรียนเรียนหนักที่สุดในโลก ไหนจะเรียนในโรงเรียนอีก
ไหนจะต้องเรียนกวดเรียนนอกโรงเรียนอีก อาจารย์คิดว่าตรงนี้มีปัญหาไหมครับ
ตอบ
–
เราต้องยอมรับนะ ว่าอาจารย์ไม่ใช่คนเก่งทุกคน
อาจารย์บางคนเขาสอนไม่ดีนะ แต่ครูชอบเข้าไปคุยกับเขาจังเลย
เวลาสอนในห้องเขาสอนไม่รู้เรื่อง แต่เวลาเขาคุย เขาคุยสนุก เขาคุยรู้เรื่อง
อย่างพวกดอกเตอร์สอนอะไรไม่รู้ พูดอะไรไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง
แล้วมีเด็กมานั่งฟังอยู่ 3 คนแล้วที่เหลือก็เออออ แล้วเขาก็ดีใจที่มีเด็กนั่งฟังอยู่
3 คน เป็นครูครูเสียใจนะ เพราะว่าคนที่เป็นครู หน้าที่หลักไม่ใช่คุณความรู้เยอะ
แต่คุณต้องถ่ายทอดเป็น อาจารย์สมัยครูเรียนที่ราชภัฎสอนดีมาก
แต่ดอกเตอร์สอนไม่รู้เรื่อง คุณอยู่กับกองชีตมากไปไหม
ถาม
–
อาจารย์กำลังจะบอกว่าปัญหาการศึกษาทุกวันนี้
มันมาจากการถ่ายทอดของครู
ตอบ
–
ถูก และอีกอย่างบางคนเขาก็ไม่เขาใจจิตใจเด็ก
พูดอะไรออกมาก็ภาษาอะไรไม่รู้ เขาคิดว่าเวลาเขาคุยในกลุ่มกันเขารู้เรื่อง
คุณจะเป็นครูไม่ว่าจะระดับไหน ประถม มัธยม ปริญญาตรี โท เอก คุณต้องรักเด็ก
คุณต้องช่วยเหลือเด็ก ไม่ใช่คิดว่าเด็กต้องตามคุณ คนไหนโง่ก็ให้มันรีทายออกไป
ถาม
–
ทางออกของปัญหาการศึกษาคืออะไรครับ
ตอบ
–
ต้องมาจากครอบครัวที่ดีนะ /
อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนมีนะที่เป็นห่วงเด็ก ทำไมได้เกรดเท่านี้ล่ะลูก
ความรักไงที่คุณต้องให้เขา ไม่ใช่วิชาการอย่างเดียว คนที่ให้แต่วิชาการอย่างเดียว
ควรจะเรียกตัวเองว่านักวิชาการ ที่มาสอน อย่าเรียกเลยว่าเป็นครู
ครูต้องให้ความรักนักเรียน ต้องมีความเอื้ออาทรต่อเด็ก
ถาม
–
นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเรียนในห้องเรียนมากขนาดไหน
บางทีการออกมากวดวิชา แล้วมาเจออาจารย์ที่เป็นอย่างอาจารย์ ที่ให้ความรักต่อเด็ก
อาจารย์กำลังจะสะท้อนใช่ไหมครับว่านี่ไงทางออกของการศึกษาไทย
คือการที่ครูให้ความรัก ความเมตตาต่อเด็ก เข้าใจเด็ก
ตอบ
–
ครูไม่เคยสะท้อนหรอกค่ะ นี่คือตัวครูเองจริงๆ ครูไม่คิดหรอกค่ะ
ว่าครูทุกคนต้องเป็นแบบครู แต่ครูเพียงแค่อยากจะบอกว่า เด็กหลายคนเขาขาดความอบอุ่นจากอาจารย์เคยรู้บางไหม
ทั้งที่โรงเรียน ทั้งมหาวิทยาลัย คุณเป็นแค่นักวิชาการที่มาสอน
แล้วคุณก็ชมกันเองให้เป็นอาจารย์ดีเด่น คุณสอนเด็กอยู่ 40 คน แล้วคุณสอนสำเร็จอยู่
10 คน แล้วก็เอาเด็ก 10 นี้มาโอ้อวดตลอดเวลา แล้วอีก 30 คนที่เหลือล่ะ
เคยดูแลเขาบางหรือเปล่า โทษแต่เด็กที่เรียนเลขไม่รู้เรื่อง
แล้วเคยคิดที่จะไปสอนเขาบ้างหรือเปล่าแทนที่จะไปโทษเขา นี่ครูมาพูดแทนเด็กหลายๆ คน
เด็กหลายๆ คนที่บางทีตั้งใจนะ แต่เรียนไม่รู้เรื่อง เคยสงสารเขาบางไหม
คำพูดของคุณถ้าไปบาดจิตใจเขาให้เป็นแผลลึกๆ อยู่ในใจตั้งแต่ตอนประถม จนเขาไม่ตั้งใจเรียนมาจนถึงมัธยม
เคยรู้บ้างไหม ..ว่าเป็นเพราะคุณ ....
ฝ่ายข่าว Nation U Channel