03/02/2555
น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วมในปีนี้
เป็นคำถามที่ ตอนนี้นักวิชาการด้านน้ำออกมาให้คำตอบค่อนข้างชัดเจนแล้วนะครับว่า
น้ำจะท่วมใหญ่อีกรอบ
รศ.เสรี
ศุภราทิตย์ วิเคราะห์ไปในด้านปรากฏการทางธรรมชาติครับว่าปีนี้
ปรากฏการณ์ลานินญ่าจะอ่อนลง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อยลง
ซึ่งปรากฏการณ์ลานินญ่า คือเหตุการณ์ที่อุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งประเทศไทยสูงขึ้น
(ร้อนขึ้น) ขณะที่อุณหภูมิในมหาสมุทรฝั่งอเมริกาเย็นลง
ลมจึงพัดพาความชื้นมาสู่ประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง ทำให้เกิดฝนชุกในประเทศไทย
อย่างเช่นปีที่ผ่านมา ที่สำคัญครับคือปีนี้ฝนมาเร็วกว่าปกติ
ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่ช่วงต้นปีไปจนถึงเดือนพฤษภาคม พอถึงเดือนมิถุนายนก็จะเข้าสู่ภาวะฝนทิ้งช่วง
ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ทำให้เกิดน้ำท่วม
แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้ คือ
พายุที่อาจจะพัดเข้าสู่ประเทศไทย จะเห็นได้ว่าปีที่ผ่านมา มีพายุพัดเข้ามา
และส่งอิทธิพลต่อไทยถึง 5 ลูก แม้จะไม่รุนแรงมากแต่ก็ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม
แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้แน่นอนว่าจะมีพายุเข้าสู่ไทยอีกหรือไม่
การเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมจึงเป็นเรื่องจำเป็น
และเกษตรกรควรปรับเปลี่ยนฤดูกาลเพาะปลูกให้ตรงกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
คุณสมิทธ
ธรรมสโรช วิเคราะห์ไปในด้านการบริหารจัดการน้ำครับว่า น้ำจะท่วมอีกแน่นอน
เพราะดับน้ำในเขื่อนภูมิพลยังอยู่ในระดับร้อยละ 90
และติติงไปยังหน่วยงานบริหารจัดการน้ำของไทยว่ามีตั้ง 20
หน่วยงานถือว่าเยอะที่สุดในโลก แต่ทำงานไร้เอกภาพ แยกกันอยู่คนละหน่วยงาน
และรัฐบาลก็ยังไม่มีแผนงานระบายน้ำที่ชัดเจนว่าจะระบายออกแม่น้ำท่าจีนหรือบางปะกง
อีกทั้งบอกว่านักการเมืองไม่ค่อยเชื่อนักวิชาการ กรมอุตุนิยมวิทยา
คำนวณล่วงหน้าได้หลายเดือน แต่ก็ไร้ประโยชน์ เพราะไม่มีหน่วยงานที่จะเอาไปใช้
การทำแผนงานจัดระบบข้อมูลและระบบการเตือนภัยที่ กยน.
มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม
ก็ประชุมกันเพียงครั้งเดียว กยน.
ที่ตนเป็นกรรมการอยู่ด้วยนั้นก็ไม่มีแผนงานเป็นรูปธรรม การอนุมัติงบประมาณ 3.5
แสนล้านบาทใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ไม่มีข้อเสนอนักวิชาการอยู่ในแผนงาน
การแถลงของนายกฯก่อนนี้ก็ไม่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำ floodway
ว่าจะเป็นจุดใด ที่ไหน ทางน้ำผ่านไปทางไหน ไปทางตะวันออก ตะวันตก
ผ่าน กทม. หรือไม่ หรือไปยังแม่น้ำบางปะกงก็ยังไม่เห็นแผน
สำหรับแนวทางการแก้ไขน้ำท่วมนักวิชาการต่างเสนอออกมาตรงคือ
1. สร้างทางด่วนระบายน้ำขนาดใหญ่(ฟลัดเวย์) 2. ทำแก้มลิงรับน้ำ 3. ขุดลองคูคลอง 4.
บริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้ดี 5. หาวิธีในน้ำระบายออกสู่ทะเลได้หลายๆช่องทาง
ถึงเวลาที่เราคงต้องเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมกันอีกครั้ง
ถ้ารัฐบาลสามารถบริหารจัดการน้ำได้ก็โชคดีไป แต่ถ้ารัฐบาลซึ่งได้ตั้งคณะกรรม กยน.
มีนักวิชาการด้านน้ำ ออกมาวิเคราะห์ และบอกแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบนี้แล้ว
ยังชักช้า ไม่รีบดำเนินการ แล้วน้ำท่วมซ้ำอีก ทั้งนักลงทุน ชาวต่างชาติ ประชาชน
ชาวบ้าน คงจะหมดความเชื่อมั่นกับรัฐบาลชุดนี้เป็นแน่
ขอเป็นกำลังใจให้ท่านนายกยิ่งลักษณ์
“เอาอยู่” นะครับ ปีนี้
ฝ่ายข่าว Nation U Channel
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น