23/09/2554
บิ๊กกทม. โร่แจง
กล้อง CCTV มีแต่กล่อง ไม่มีตัวกล้องภายใน ระบุ
ไว้หลอกม็อบเมื่อ 2 ปีก่อน อ้างงบประมาณสะดุด
ด้านผอ.กองระบบจราจร ลั่น เตรียมแก้ไขด่วน
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากกรณีที่เว็บไซต์พันทิบดอทคอม
มีการตั้งกระทู้ว่า “เกิดอะไรขึ้นกับกล้องวงจรปิดของกทม.ครับ”
ซึ่งพบว่า กล้องวงจรปิด(ซีวีทีวี) ของกทม.บริเวณถนนสาทร ไม่มีอุปกรณ์ภายในว่า โครงการดังกล่าว
เกิดขึ้นในสมัยที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯกทม. โดยสำนักการจราจรและขนส่ง
(สจส.) ได้ให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อดูแลพื้นที่กทม. โดยเฉพาะช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง
เดือนเม.ย.2552 เป็นต้นมา
อ้าง
"กล้องดัมมี่" กล้องหลอกเฝ้าระวังพื้นที่ชุมนุมการเมือง
อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น กทม.
ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินการโครงการดังกล่าว
จึงมีแนวคิดให้ติดตั้งกล้องหลอกหรือ “กล้องดัมมี่”
ในการเฝ้าระวังพื้นที่ในการชุมนุม
เพื่อให้ผู้ชุมนุมเกรงกลัวในการกระทำความผิด
ทั้งนี้ เมื่อมาถึงยุค มรว.สุขุมพันธุ์
บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ก็มีโครงการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ในพื้นที่กรุงเทพฯ
ตามนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล จำนวน 2 หมื่นตัว
ทั่วกทม. และมีการตั้งป้ายประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
แต่เจ้าหน้าที่กลับนำป้ายประชาสัมพันธ์ของโครงการนี้ ไปติดที่บริเวณเสาของ "กล้องดัมมี่"
จึงทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด
"ผมจึงได้สั่งการให้
สจส. เร่งแก้ไข และชี้แจงประชาชนโดยเร็วที่สุด" นายธีระชน กล่าว
ด้านนายสุธน อาณากุล
ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวว่า
"กล้องดัมมี่" ดังกล่าว ถูกติดตั้งทั่วกทม.ประมาณ 500 จุด อาทิ บริเวณโรงพยาบาล หรือ โรงเรียน
รวมทั้งในบริเวณที่มักจะมีการชุมนุมทางการเมืองหรือชุมนุมต่าง ๆ
โดยเฉพาะในเขตพระนคร ก็จะมีการติดตั้งกล้องดัมมี่ทั่วถนนราชดำเนิน
ซึ่งก็รวมกับการติดตั้งกล้องที่ใช้งานได้จริงเข้าไปด้วย
สารภาพ มีประสานขอภาพ
อ้าง "กล้องเสีย" ลั่น ขอโทษ เมื่อ ปชช. รู้แล้ว
"ในขณะนั้น
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน ได้ประสานมาขอภาพ
เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด แต่กทม.ได้ระบุว่า
เป็นกล้องเสีย แต่ที่สุดแล้ว เมื่อประชาชนรับทราบข้อเท็จจริงว่า เป็น
"กล้องดัมมี่" ผมก็ต้องขอโทษไว้ด้วย"
เขาบอกว่า จากนี้
จะเร่งแก้ไขโดยการนำกล้องมาติดตั้งในจุดดังกล่าวโดยเร็ว
เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง
อย่างไรก็ตาม
ในส่วนของโครงการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (ซีวีทีวี) ในพื้นที่กรุงเทพฯ
ตามนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล จำนวน 1 หมื่นตัวนั้น
สามารถใช้การได้จริง และจะมีการติดตั้งเพิ่มเติมอีก 2 หมื่นตัว
ภายในต้นปี 2555
ที่มา : คม ชัด ลึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น