12/01/2555
เริ่มได้กลิ่นของการหาผลประโยชน์ระหว่างนักการเมือง
กับกลุ่มธุรกิจข้ามชาติในวงการสาธารณะสุขไทยเมื่อประธานชมรมแพทย์ชนบท
ยืนยันว่าแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีจริง และได้เล่าให้นักข่าวฟังว่า “เริ่มต้นจากผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขส่วนหนึ่งที่รับไม่ได้กับบทบาท
อำนาจที่หายไป
จึงได้จับมือกับกลุ่มแพทย์พาณิชย์ที่เคยคัดค้านนโยบายบัตรทองของนายกทักษิณ ชินวัตร
เปิดวอร์รูมขึ้นที่ห้องผู้บริหารของกระทรวงท่านหนึ่ง เมื่อสามปีที่แล้ว”
ขั้นตอนที่หนึ่ง
ฝ่ายการเมืองเปิดทางให้กลุ่มแพทย์ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบหลักประกันสุขภาพรวมทั้งนายทุนพรรคเพื่อไทยเข้ายึดครองบอร์ด
สปสช. เพื่อจัดคนของตัวเองเข้าสู่อนุกรรมการการเงินการคลังและอนุกรรมการชุดต่างๆ
รวมทั้งปรับนโยบายหลักประกันสุขภาพที่เดิมยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเปลี่ยนเป็นยึดหน่วยบริการเป็นหลัก
ขั้นตอนที่สอง
เปลี่ยนเลขาธิการ สปสช.เอาตัวแทนของฝ่ายการเมืองเป็นแทน
เพื่อยึดครองสปสช.และลดบทบาทการปฏิรูปและตรวจสอบระบบบริการ
ขั้นตอนที่สาม
ของบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับที่ประกันสังคมเพิ่มครั้งใหญ่และที่สวัสดิการข้าราชการได้รับ
เพื่อสร้างเงื่อนไขภาระงบประมาณให้รัฐบาล
ขั้นตอนที่สี่
สร้างกระแสสังคมให้ยุบเลิกหรือแก้ไขสาระสำคัญของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ศ. 2545 เป็นการสิ้นสุดยุคปฏิรูประบบสุขภาพที่ นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์
และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร่วมกับภาคประชาชน เริ่มต้นขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อ
10 กว่าปีก่อนนพ.สงวน
ได้ให้แนวคิดและได้อธิบายหลักการของหลักประกันสุขภาพไว้อย่างชัดเจนว่า
"การประกันสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของการประกันสังคม
ซึ่งเป็นการส่งเสริมระบบความมั่นคงทางสังคมวิธีหนึ่ง
โดยให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือมีความจำเป็นต้องไปรับบริการทางสุขภาพทุกประเภท
ซึ่งผู้ที่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าวสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเมื่อมีความจำเป็นยามเจ็บป่วยได้
โดยไม่ต้องกังวลถึงรายได้รายจ่ายหรือความแตกต่างของสถานะทางเศรษฐกิจ”
นโยบาย
30 บาทรักษาทุกโรคจึงกลายเป็นนโยบายที่โดดเด่นของพรรคไทยรักไทยในสมัยนั้น
จนนำมาสู่การชนะการเลือก และเปิดทางให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาเมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นเป็นรัฐบาล
ได้ยกเลิกการใช้บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค แล้วให้รักษาฟรี
โดยใช้บัตรประชาชนแสดงสิทธิของตน แต่ยังคงใช้แนวเดียวกันกับหลักประกันสุขภาพ
จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่มีการใช้นโยบายบัตรทอง
30 บาทรักษาทุกโรค หรือใช้บัตรประชาชนรักษาฟรี
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่หลากหลายแง่มุมกันออกไป บางส่วนเห็นว่าคุณภาพของยาต่ำ
และได้รับบริการทางการแพทย์ไม่ดีเทียบเท่ากับการที่ต้องจ่ายเงิน
แต่บางส่วนก็เห็นว่าได้ประโยชน์การการใช้สิทธินี้
และได้รับบริการทางการแพทย์ที่เท่าเทียมกัน แม้จะจ่ายเพียง 30 บาท
หรือไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย
อย่างไรก็ตามหลักประกันสุขภาพก็ยังคงเป็นที่พึ่งให้กับคนยากจน
ให้ได้มีโอกาสได้รับการรักษาทางการแพทย์ ส่วนปัญหาด้านคุณภาพของยาต่ำ
และได้รับบริการทางการแพทย์ไม่ดีเทียบเท่ากับการที่ต้องจ่ายเงิน
กระทรวงสาธารณสุขคงต้องเอาจริง เอาจังกวดขันให้มีความเท่าเทียมกัน ใช้หลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ตั้ง
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของเครือข่ายแพทย์ชนบทคือนโยบายนี้เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ
ชินวัตร แต่จะสิ้นสุดเอาเพราะนักการและนักธุรกิจในยุคของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
อย่างนั้นหรือ นั่นก็ไม่ต่างอะไรกับการเขียนด้วยมือ ลบด้วยเท้า
ฉะนั้นขอเรียกร้องให้ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดูแลเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
สำคัญที่สุดตอนนี้ที่ต้องจับตามองคือ
เมื่อประธานแพทย์ชนบทออกมาเปิดเผยถึงแผนล้มหลักประกันสุขภาพ
และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
ที่มาจากเครือข่ายแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรพ.ชุมชนทั่วประเทศ
เตรียมออกมาเคลื่อนไหว อย่างน้อยก็ทำเอาพวกนักการเมือง
กับนักธุรกิจที่เอาแต่ประโยชน์ตัวเอง ไม่กลัวบาปกลัวกรรม ต้องหนาวๆ ร้อนๆ
ไปตามๆกันทีเดียว เป็นไปได้กลับตัวกลับใจตอนนี้ยังไม่สาย
มิเช่นนั้นจะถูกสังคมประณามโดยไม่จำเป็น
ฝ่ายข่าว Nation U Channel
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น